SPORTTAPE THAILAND

ทำความรู้จักเทป Kinesiology (เทปพยุงกล้ามเนื้อ) สำหรับนักวิ่งกันเถอะ!

kinesiology, เทปพยุงกล้ามเนื้อ

ถ้าพูดถึง Kinesiology Tape หรือ K-Tape เเบบสั้นๆ คือ เทปพยุงกล้ามเนื้อ หรือเทปยืดที่ถูกพัฒนามาในปี 1970 เเละถูกคิดค้นโดยเเพทย์ไคโรเเพคเตอร์ (Chiropactor) ชาวญี่ปุ่น ดร. เคนโซ คาเซ (Dr. Kenzo Kaze) ซึ่งต้องการเทปยืดหยุ่นเป็นพิเศษ ที่ใช้ดูเเลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เเละเส้นเอ็นที่มีการบาดเจ็บ 

Kinesiology Tape

ในปัจจุบันนี้ Kinesiology Tape หรือ K-tape มีมากกว่า 50 เเบรนด์ในตลาดทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือเเบรนด์ SPORTTAPE ซึ่งค่อนข้างจะมีเกือบทุกสี เเละหลายลวดลาย (ตั้งเเต่สีชมพูสดใส ไปจนถึงสีเข้มดุดัน) เเละสามารถใช้ได้กับทุกส่วนของร่างกายที่มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เเละเส้นเอ็น ตั้งเเต่การบรรเทาอาการบวม ไปจนถึงการช่วยการรักษาอาการไม่สบายท้องขณะตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะสำหรับนั่งวิ่งที่ตั้งครรภ์) รวมไปถึงนักกีฬาที่สามารถใช้ในระหว่างฝึกซ้อม

เทปพยุงกล้ามเนื้อ

สำหรับบทความนี้ทาง SPORTTAPE มีคำเเนะนำ เเละงานวิจัยจากนักวิ่ง เเละนักกายภาพบำบัดมาให้กับคุณผู้อ่านทุกท่าน เเละหากคุณยังเป็นมือใหม่ เเละพึ่งจะเคยใช้ Kinesiology Tape หรือ อาจจะเคยใช้มาก่อนเเต่ไม่เเน่ใจว่ามันคืออะไร ต้องใช้ยังไง คำตอบทั้งหมดอยู่ที่ด้านล่างนี้เเล้วครับ!

K-TAPE เทปพยุงกล้ามเนื้อ ทำงานอย่างไร?

SPORTTAPE Kinesiology Tape หรือเทปพยุงกล้ามเนื้อ มีความยืดหยุ่นสูง ผลิตจากผ้าฝ้าย (Cotton) 96% ผสมเส้นใยสังเคราะห์ยืดหยุ่น (Nylon/ Spandex) 4% ถักทอเเน่นอย่างเป็นระเบียบ เเละมีรูสำหรับระบายอากาศ ใช้สิ่งยึดติดชนิด Acrylic (Medical Grade) ไม่มีส่วนผสมของ Latex ทำให้ลดโอกาสการระคายเคืองผิวหนัง (Hypo – Allergenic) 

Sporttape

kinesiology Tape หรือ เทปพยุงกล้ามเนื้อ ของเเบรนด์สปอร์ตเทปถูกออกเเบบให้มีความคล้ายกับผิวของคน ระบายอากาศได้ดี เเละกันน้ำได้ (จึงไม่หลุดออกมาขนาดอาบน้ำ หรือฝนตกเหมือนเทปอื่นๆ) ดังนั้นจึงสามารถติดเทปได้เป็นระยะเวลายาวนาน 3 – 5 วัน 

K-tape
  • จากงานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ (2017) ได้นำเสนอข้อเท็จจริงว่า K-Tape สามารถช่วยสร้างพื้นที่ในข้อต่อ เหมาะสำหรับส่วนที่มีอาการอักเสบ เเละช่วยส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด เเละน้ำเหลืองได้ดีขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวอย่างงรวดเร็ว จากการบาดเจ็บ เเละรอยฟกช้ำ
  • การคลายจุดที่เจ็บปวด (Trigger point) เเนะนำให้ใช้ K-Tape หรือ เทปพยุงกล้ามเนื้อ เพื่อยกผิวของกล้ามเนื้อที่ตึง หรือเจ็บปวดให้เกิดความคลายของกล้ามเนื้อ เเละเพิ่มเเรงการหดตัวของกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น เเละทำให้อาการเจ็บที่น่ารำคาญให้หายไป!

K-TAPE ใช้ทำอะไร? 

Sporttape

บางคนอาจจะเข้าใจว่า K-Tape สามารถช่วยเเก้ปัญหาได้ทั้งหมด เเต่จริงๆเเล้วK-Tape หรือเทปพยุงกล้ามเนื้อไม่สามารถเเก้ปัญหาได้หมด เเต่เเค่ช่วยให้ระบบของกล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆของกล้ามเนื้อให้ทุเลาลงเเละช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังได้รับการบาดเจ็บ 

  • Aiding Injuries (การรักษาผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บ)

นักกายภาพมักจะใช้ K-Tape เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาหลังจากได้รับการบาดเจ็บ หรือคนที่พึ่งได้รับอุบัติเหตุ เช่นข้อเท้าพลิก หรือถูกกระเเทกอย่างรุนเเรง สามารถยับยั้งอาการบวมได้

  • Extra Assistance (การรักษาเเบบพิเศษ):

การจัดตำเเหน่งของกระดูกให้อยู่ในตำเเหน่งที่เหมาะสม เช่น การฟื้นฟูของกล้ามเนื้อ เเละกระดูก  (Musculoskeletal: MSK) ที่อาจเกิดจากความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ ถ้าหากอยากจะหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บ หรือในนักฟุตบอลที่มีลูกสะบ้าเคลื่อน จนทำให้เจ็บเข่า สามารถใช้ K-Tape ขณะออกกำลังกายได้ จะช่วยให้คุณสามารถออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

  • Reduced Friction (ลดเเรงเสียดทาน):

K-Tape ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อที่ตึงเกินไป  สามารถติด K-Tape ได้รอบข้อต่อ หากคุณเคยมีอาการปวดบริเวณด้านข้างของหัวเข่า เช่น IT Band, เอ็นร้อยหวายอักเสบ, การบาดเจ็บลูกสะบ้าใต้เข่า สามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด เเละสามารถป้องกันการบาดเจ็บ

ภาวะที่ไม่ควรใช้ Kinesiology Tape?

มีหลายครั้งที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้เทปเช่น:

  • Opens Wounds (แผลเปิด) – ความเสียหายของผิวหนัง เเละความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • Infection (การติดเชื้อ) – ถ้ามีการติดเชื้อจะทำให้การเคลื่อนไหวของของเหลวในร่างกายมีมากขึ้น ซึ่งถ้าติด Kinesio-Tape (เทปพยุงกล้ามเนื้อ) ก็จะสามารถช่วยกระตุ้นให้การเเพร่ระบาดของการติดเชื้อไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้ง่ายขึ้น จึงไม่เหมาะสม และเป็นอันตราย ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้เทปเมื่อเกิดอาการติดเชื้อ
  • Deep Vein Thrombosis (หลอดเลือดดำส่วนปลายอุดตัน) – เป็นนภาวะที่เลือดอุดตันในส่วนของหลอดเลือดดำส่วนปลายอุดตัน มักจะอยู่ในหลอดเลือดดำที่บริเวณขา ถ้าใช้ Kinesiology Tape ในภาวะที่มีการอุดตันของหลอดเลือดดำ อาจะทำให้ลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดไหลไปยังในอวัยวะที่สำคัญต่างๆในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด หรือสมอง ซึ่งเป็นอันตรายได้

K-TAPE ใช้งานได้จริงหรือไม่?

เทปนี้เเตกต่างจากเทปทั่วไป ตรงที่เนื้อเทปยืดหยุ่นเป็นพิเศษ เนื้อกาวจะเเนบติดกับผิวหนังได้เป็นเวลานาน เมื่อติดบนร่างกาย เเละประโยชน์ที่โดดเด่นของ Kinesio-Tape ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ 

  • ช่วยยึด หรือยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น โดยปรับความตึง เเละทิศทางการติด
  • หากติดความตึงน้อยๆ เทปจะให้ความยืดหยุ่นสูง ระบบไหลเวียนน้ำเหลืองจะทำงานคล่องขึ้น เเละลดอาการบวมได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยกระตุ้นสัญญาณสัมผัสของระบบประสาท ทำให้บริเวณที่ติดเทปเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม จึงใช้ได้ทั้งผู้บาดเจ็บ หรือผู้ที่ไม่บาดเจ็บ เเต่มีท่าทางหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
  • สำหรับเทปที่มีหลากหลายสีนั้น เป็นเพียงการออกเเบบเพื่อให้เห็นเเนวการติดที่ชัดเจน เเละดูน่าสนใจ ทั้งนี้ไม่ว่าเทปจะสีใดก็มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน
  • ปัจจุบันนี้ Kinesio-Tape เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่นักกีฬา เเละคนออกกำลังกาย 

ลักษณะเเบบในการแปะ Kinesiology Tape

Kinesiology Tape

วันนี้ทาง SPORTTAPE จะมาขอเเจกทริค รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เเละลักษณะในการติด Kinesio-Tape ที่มีอยู่ 6 แบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการพยุงส่วนนั้นๆของร่างกาย เเละลักษณะในการบาดเจ็บบริเวณที่ต้องการพยุง จะเเบ่งลักษณะการติดได้ดังนี้

  1. เเบบ I

เป็นเเบบที่ง่ายที่สุด ที่ใช้ในกรณีบาดเจ็บเเบบ Acute Injurie (การบาดเจ็บเเบบเฉียบพลัน) ช่วยลดอาการปวดบวม

  1. เเบบ Y

เป็นเเบบที่เริ่มทำวิธีเเบบ I ก่อน เเล้วค่อยเเยกตรงกลาง แปะคล้ายๆตัว Y แปะตามร่างกาย นิยมแปะกล้ามเนื้อให้มีผลต่อการใช้งานมากที่สุด ส่วนมากจะใช้พยุงร่างกายในกรณีที่กล้ามเนื้ออ่อนล้าระหว่างซ้อม (Weakened Muscles) ซึ่งจะใช้หลักการติดจากจุดเกาะต้น (Origin) ไปยังจุดเกาะปลาย (Insertion)

  1. เเบบ X

ใช้เเปะเพื่อเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อบริเวณที่อยู่เเนวสองข้อต่อของร่างกาย มักจะเป็นส่วนที่ต้องขยับตลอดเวลา เช่น กล้ามเนื้อ Rhomboid Major เเละ Rhomboid Minor

  1. เเบบใบพัด (Fan)

ตัดเทปเป็นซี่ๆ สามารถตัดได้ 4 ซี่ หรือ5 ซี่ก็ได้ ใช้เเปะตามร่างกายเพื่อยกผิวให้มีการไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น (Blood Flow)

  1. เเบบตาข่าย (Web)

ตัดลักษณะเเบบ Fan เเต่นำมาประกบกันเหมือนตาข่ายทับซ้อนกัน ใช้แปะเพื่อการไหลเวียนช่วต่อมน้ำเหลือง ป้องกันการฟกช้ำเป็นหลัก

  1. เเบบ Donut

มีวงอยู่ตรงกลางคล้ายโดนัท ใช้กรณีเดียวกับ เเบบ Fan เเต่ให้ช่วงรูอยู่บริเวณยอด

หากต้องการติด Kinesiology Tape โปรดจำขึ้นตอนนี้ 

  • ทำความสะอาดพื้นผิว เเละทำให้ผิวเเห้งก่อน เพราะโลชั่น เเละ Body oil สามารถทำให้เทปติดไม่ยาวนานได้
  • ตัดมุมตรงปลายเทปให้โค้งมน เพราะจะทำให้เทปติดได้อย่างยาวนานขึ้น ไม่เกี่ยวโดนเสื้อผ้า
  • ควรจับเทปบนกระดาษรอง เพื่อลดการสัมผัสในส่วนของกาวที่จะทำให้เกิดความเหนียวของกาวน้อยลง
  • หลังจากติดเทปเเล้ว ให้ถูเเถบเเรงๆ เป็นเวลาหลายวินาที เพื่อทำให้เทปเกิดความร้อน เเละทำให้การทำงานของกาวใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เเละเต็มที่

การเพิ่มเเรงดึงของ Kinesiology Tape

การเพิ่มเปอร์เซนต์ของเเรงดึงนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการดึงส่วนนั้นเป็นหลัก จะสามารถแบ่งเปอร์เซนต์การใช้เเรงดึง ดังนี้

  • No Tension (None) ใช้เเรงดึง 0% จะไม่เพิ่มเเรงดึงเลย ใช้เพื่อประคองการบาดเจ็บในส่วนนั้น ไม่ให้อักเสบเพิ่มขึ้นเพียงเท่านั้น
  • Light ( เบาๆ ) ใช้เเรงดึง 15 – 25%  ของเเรงดึงท้งหมด เพื่อลดการบวมเเบบ  Swelling (บวมเเบบอักเสบ) เเบบ Edema (บวมเเบบไม่มีอักเสบ) หรือการฟกช้ำ ช้ำเลือดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
  • Moderate (ปานกลาง) ใช้เเรงดึง 25 – 50% ของเเรงดึงทั้งหมด เพื่อพยุงกล้ามเนื้อเอ็นเเบบ Tendor (เอ็นที่ติดระหว่างกล้ามเนื้อกับกล้ามเนื้อ)
  • Servere (เกือบตึง) ใช้เเรงดึง 50 – 75% ของเเรงดึงทั้งหมด ใช้พยุงข้อต่อช่วง Corrective Tissue (เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน) เอ็นเเบบ Ligament (เอ็นที่ติดระหว่างกระดูกกด้วยกัน เเละเอ็นที่ติดระหว่างกล้ามเนื้อกระดูก)
  • Full (ตึงเต็มที่) ใช้เเรงดึง 75 – 100% ของเเรงดึงทั้งหมด ใช้พยุงข้อต่อเเละกระดูกเพื่อลดการกระทบกระเทือน การเคลื่อนตัว เเละลดเเรงกระเเทกที่มีต่อกระดูก

มาถึงตอนนี้ คุณก็พอจะเข้าใจคุณสมบัติ เเละวิธีการใช้ของ Kinesiology Tape หรือเทปพยุงกล้ามเนื้อเพิ่มมากยิ่งขึ้น มีบางข้อมูลจากผู้ที่เคยใช้งานจริงได้ให้ข้อมูลกับทาง SPORTTAPE ว่า K-Tape หรือ เทปพยุงกล้ามเนื้อ สามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บบของทางกล้ามเนื้อได้ เเละบางการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าอาจให้ผลทางจิตใจที่ทำให้นักกีฬารู้สึกมั่นใจขึ้นเมื่อมีการใช้เทปนี้ 

ถ้าอยากรู้ว่าจริง หรือไม่จริง ขอเเนะนำให้ลองใช้ SPORTTAPE เทปพยุงกล้ามเนื้อ เเล้วคุณจะพบว่าความจริงเป็นเช่นไร อย่าลืมปฏิบัติตามทริคที่แอดมินเเนะนำไปนะครับ หรือสามารถเพิ่มเติม วิธีการติด Kinesiology Tape ได้ที่นี่ เเละสามารถมาเล่า หรือเเชร์เรื่องราวให้เราฟังได้ที่เพจเฟซบุ๊ก SPORTTAPE THAILAND เเล้วมาพบกันใหม่ในบทความหน้านะครับ 

อ้างอิงบทความ

Healthline

TrueID

Related Articles

Office Syndrome, ออฟฟิศซินโดรม

บอกลา “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” กลุ่มอาการยอดฮิตคนทำงาน กับ 7 ไอเทมที่ต้องมีติดบ้าน

“ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” กลุ่มอาการยอดฮิตของคนวัยทำงาน พนักงานออฟฟิศ ที่จำเป็นต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

Read More »
วิ่งเทรล, Running Trail,เคล็ดลับวิ่งเทรล, Sporttape

เคล็ดลับ วิ่งเทรล (Trail Running) นักวิ่งมือใหม่ มืออาชีพ ต้องรู้ ก่อนพิชิตเส้นชัย

วิ่งเทรล กีฬายอดฮิตที่มือใหม่ มืออาชีพ ต่างตบเท้ากันลงสนาม ไม่เว้นเเม้เเต่คนดังอย่างอดีตนักการเมือง คุณธนาธร

Read More »
ข้อศอกอักเสบ, Tenniselbow, อาการเจ็บข้อศอก

รู้หรือไม่? อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส (TENNIS ELBOW) ไม่ได้เป็นเเค่เฉพาะกับนักกีฬาเทนนิสเท่านั้น!

” รู้หรือไม่ว่า อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส หรือ Tennis Elbow  ไม่ได้เกิดขึ้นเเค่เฉพาะกับนักกีฬาเทนนิสเท่านั้น เเต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคนทุกช่วงวัย ที่มีการทำงานบริเวณช่วงข้อมือ

Read More »