SPORTTAPE THAILAND

5 เรื่องที่มักเข้าใจผิด “เทปพยุงกล้ามเนื้อ คิเนซิโอเทป”

Kinesiology Tape, Kinesio-Tape, คิเนซิโอเทป, เทปพยุงกล้ามเนื้อ, เทปบำบัด, เทปสีบำบัด, Sport Tape, K-tape

เทปพยุงกล้ามเนื้อ คิเนซิโอเทป หรือ K TAPE อาจทำให้ประสิทธิภาพ ที่ดูเหมือนน่าอัศจรรย์ต่อการควบคุมการเคลื่อนไหว  ความเจ็บปวด และการทำงานของกล้ามเนื้อ แต่ยังมีความเชื่อแบบผิด ๆ ที่หลายคนยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับเทปพยุงกล้ามเนื้อ (Kinesiology Tape) ชนิดนี้อยู่บ้าง

จะมีประเด็นไหน ที่คนมักมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้เทปพยุงกล้ามเนื้อ (KINESIOLOGY TAPE) เราลองมาดูไปพร้อม ๆ กันครับ ดังต่อไปนี้

1. แปะเทปทิศทางต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพ

” Kenzo Kase ผู้ประดิษฐ์เทป Kinesiology ให้เหตุผลว่า การใช้ K Tape ช่วยเพิ่มความสะดวก ยืดหยุ่น ให้กับกล้ามเนื้อ เมื่อนำ K Tape ไปใช้แปะจากจุดเกาะต้นไปยังจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อ เเละช่วยยับยั้ง ทิศทางจากจุดเกาะปลาย ไปยังจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อ”

ความเชื่อข้างต้นอาจดูไม่สมเหตุสมผล เพราะคุณสมบัติของเทปนั้นไม่ได้มีความแตกต่างกัน และเมื่อติดอยู่บนกล้ามเนื้อแล้ว เราจะไม่มีทางบอกได้ว่าทิศทางที่คุณเริ่มทำการแปะเทปนั้นจะเป็นแบบเหตุผลในข้างต้นได้  เพราะมีการศึกษาบางทฤษฎีระบุว่าไม่ได้เป็นไปตามความเชื่อเหล่านั้น

แต่สิ่งเดี่ยวที่เราควรกังวลเกี่ยวกับทิศทางการแปะเทปนี้ คือ เรากำลังพยายามป้องกันการเคลื่อนไหวบางอย่างของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นโดยเฉพาะ เช่น การแก้ไขการทรงตัว การป้องกันการหมุนด้านข้าง ฯลฯ

ดังนั้น ในครั้งต่อไปที่ติดเทปให้กับใครซักคน ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับทิศทางการแปะ ว่าจะต้องแปะจากจุดเกาะต้น หรือจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อ เเต่ให้ใช้เหตุผลทางคลินิก เพื่อตัดสินใจว่าทิศทางใดดีที่สุด ยืดเทปติดตามกล้ามเนื้อที่ต้องการ

2. สีของเทปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

“มีความเป็นไปได้ที่เรากำลังจะเริ่มต้นการสนทนาทางจิตวิทยาครั้งใหญ่เกี่ยวกับข้อดีของการบำบัดด้วยสี นอกจากผลกระทบทางจิตวิทยาแล้ว สีของเทปนั้นไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของเทปเลย”

เทปสีแดง ของ Sporttape ทำจากโครงสร้างวัสดุเดียวกันกับ เทปสีดำ ปริมาณเส้นใยเท่ากัน กาวเดียวกัน ผ้าผืนเดียวกัน นอกจากสีแล้ว ก็ไม่มีอะไรแตกต่าง

ดังนั้น สีของเทปที่เลือกใช้ ควรเลิกเลือกสีของเทปพยุงกล้ามเนื้อตามรสนิยม เเละควรเลือกสีตามความจำเป็น หากต้องการให้เข้ากับสีประจำทีม 

3. K TAPING เป็นเพียงแค่ Placebo (ยาหลอก)

“คงเป็นอีกหนึ่งความเชื่อ ที่ทำให้หลายๆคนคิดเเบบนี้ หากได้ค้นว่าข้อมูลเกี่ยวกับ เทปพยุงกล้ามเนื้อ K Tape” 

เราจะเป็นคนแรกที่ยอมรับว่ายังไม่มีงานวิจัย K Tape ที่ได้ระดับมาตรฐาน  เเต่อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเกี่ยวกับ K Taping หรือการติดเทปพยุงกล้ามเนื้อ จำนวนมากที่แสดงผลในเชิงบวกต่อการใช้ในการควบคุมการเคลื่อนไหว การบรรเทาอาการปวด การทำงานของกล้ามเนื้อได้

ข้อมูลงานวิจัย และหลักฐานเชิงบวกจากนักบำบัดและนักกีฬาหลายพันคนทั่วโลกที่ใช้เทปพยุงกล้ามเนื้อ K Tape ทุกวัน ก็ยากที่จะโต้แย้งว่าไม่มีเหตุผล เรารู้ว่ามันใช่ และถ้าคุณเคยใช้ K Tape มาก่อน คุณก็จะรู้ได้เช่นกัน

4. K TAPING สามารถช่วยลดความเจ็บปวดได้อย่างสมบูรณ์

“K Tape ไม่ใช่ยาวิเศษ จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานได้อย่างสมบูรณ์แบบ” 

เเต่ K Tape หรือเทปพยุงกล้ามเนื้อ เป็นอีกหนึ่ง เครื่องมือที่สมบูรณ์แบบ สำหรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมกายภาพ การบำบัดของนักกีฬา เพิ่มความสามารถในการออกกำลังกาย ลดความเจ็บปวด เเละเพิ่มประสิทธิภาพในการเเข่งขัน และโอกาสถึงเป้าหมายได้

5. K TAPE สามารถป้องกันคุณจากการได้รับบาดเจ็บได้

“อย่างที่บอกไปในข้างต้น เทปพยุงกล้ามเนื้อ ไม่ใช่ยาวิเศษ มันเป็นเพียงแค่เทป เพราะการบาดเจ็บบางอย่างอยู่นอกเหนือขอบเขตของสิ่งที่เทปสามารถช่วยได้”

การพันเทป หรือติดเทปบริเวณน่องอาจช่วยลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อแข็งตัว ( MINOR STRAIN ) นั้นได้ แต่จะไม่ป้องกันจากการได้รับบาดเจ็บ จากการใช้งานมากเกินไป

นอกจากนี้  K Tape หรือเทปพยุงกล้ามเนื้อ ยังเป็นเทปที่มีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้น การรัดข้อเท้า ก็ไม่ได้ป้องกันจากการพลิกคว่ำได้ เเต่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยป้องกันจากหนักเป็นเบาได้

มาถึงตอนนี้ก่อนที่คุณจะตัดสินใจ เชื่อหรือไม่เชื่อ ขอเเนะนำให้ลองใช้ SPORTTAPE เทปพยุงกล้ามเนื้อ ก่อน เเละจะพบว่าความจริงนั้นเป็นเช่นไร

Related Articles

Office Syndrome, ออฟฟิศซินโดรม

บอกลา “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” กลุ่มอาการยอดฮิตคนทำงาน กับ 7 ไอเทมที่ต้องมีติดบ้าน

“ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” กลุ่มอาการยอดฮิตของคนวัยทำงาน พนักงานออฟฟิศ ที่จำเป็นต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

Read More »
วิ่งเทรล, Running Trail,เคล็ดลับวิ่งเทรล, Sporttape

เคล็ดลับ วิ่งเทรล (Trail Running) นักวิ่งมือใหม่ มืออาชีพ ต้องรู้ ก่อนพิชิตเส้นชัย

วิ่งเทรล กีฬายอดฮิตที่มือใหม่ มืออาชีพ ต่างตบเท้ากันลงสนาม ไม่เว้นเเม้เเต่คนดังอย่างอดีตนักการเมือง คุณธนาธร

Read More »
ข้อศอกอักเสบ, Tenniselbow, อาการเจ็บข้อศอก

รู้หรือไม่? อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส (TENNIS ELBOW) ไม่ได้เป็นเเค่เฉพาะกับนักกีฬาเทนนิสเท่านั้น!

” รู้หรือไม่ว่า อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส หรือ Tennis Elbow  ไม่ได้เกิดขึ้นเเค่เฉพาะกับนักกีฬาเทนนิสเท่านั้น เเต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคนทุกช่วงวัย ที่มีการทำงานบริเวณช่วงข้อมือ

Read More »