ถ้าพูดถึง Kinesiology Tape หรือ K-Tape เเบบสั้นๆ คือ เทปพยุงกล้ามเนื้อ หรือเทปยืดที่ถูกพัฒนามาในปี 1970 เเละถูกคิดค้นโดยเเพทย์ไคโรเเพคเตอร์ (Chiropactor) ชาวญี่ปุ่น ดร. เคนโซ คาเซ (Dr. Kenzo Kaze) ซึ่งต้องการเทปยืดหยุ่นเป็นพิเศษ ที่ใช้ดูเเลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เเละเส้นเอ็นที่มีการบาดเจ็บ
ในปัจจุบันนี้ Kinesiology Tape หรือ K-tape มีมากกว่า 50 เเบรนด์ในตลาดทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือเเบรนด์ SPORTTAPE ซึ่งค่อนข้างจะมีเกือบทุกสี เเละหลายลวดลาย (ตั้งเเต่สีชมพูสดใส ไปจนถึงสีเข้มดุดัน) เเละสามารถใช้ได้กับทุกส่วนของร่างกายที่มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เเละเส้นเอ็น ตั้งเเต่การบรรเทาอาการบวม ไปจนถึงการช่วยการรักษาอาการไม่สบายท้องขณะตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะสำหรับนั่งวิ่งที่ตั้งครรภ์) รวมไปถึงนักกีฬาที่สามารถใช้ในระหว่างฝึกซ้อม
สำหรับบทความนี้ทาง SPORTTAPE มีคำเเนะนำ เเละงานวิจัยจากนักวิ่ง เเละนักกายภาพบำบัดมาให้กับคุณผู้อ่านทุกท่าน เเละหากคุณยังเป็นมือใหม่ เเละพึ่งจะเคยใช้ Kinesiology Tape หรือ อาจจะเคยใช้มาก่อนเเต่ไม่เเน่ใจว่ามันคืออะไร ต้องใช้ยังไง คำตอบทั้งหมดอยู่ที่ด้านล่างนี้เเล้วครับ!
K-TAPE เทปพยุงกล้ามเนื้อ ทำงานอย่างไร?
SPORTTAPE Kinesiology Tape หรือเทปพยุงกล้ามเนื้อ มีความยืดหยุ่นสูง ผลิตจากผ้าฝ้าย (Cotton) 96% ผสมเส้นใยสังเคราะห์ยืดหยุ่น (Nylon/ Spandex) 4% ถักทอเเน่นอย่างเป็นระเบียบ เเละมีรูสำหรับระบายอากาศ ใช้สิ่งยึดติดชนิด Acrylic (Medical Grade) ไม่มีส่วนผสมของ Latex ทำให้ลดโอกาสการระคายเคืองผิวหนัง (Hypo – Allergenic)
kinesiology Tape หรือ เทปพยุงกล้ามเนื้อ ของเเบรนด์สปอร์ตเทปถูกออกเเบบให้มีความคล้ายกับผิวของคน ระบายอากาศได้ดี เเละกันน้ำได้ (จึงไม่หลุดออกมาขนาดอาบน้ำ หรือฝนตกเหมือนเทปอื่นๆ) ดังนั้นจึงสามารถติดเทปได้เป็นระยะเวลายาวนาน 3 – 5 วัน
- จากงานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ (2017) ได้นำเสนอข้อเท็จจริงว่า K-Tape สามารถช่วยสร้างพื้นที่ในข้อต่อ เหมาะสำหรับส่วนที่มีอาการอักเสบ เเละช่วยส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด เเละน้ำเหลืองได้ดีขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวอย่างงรวดเร็ว จากการบาดเจ็บ เเละรอยฟกช้ำ
- การคลายจุดที่เจ็บปวด (Trigger point) เเนะนำให้ใช้ K-Tape หรือ เทปพยุงกล้ามเนื้อ เพื่อยกผิวของกล้ามเนื้อที่ตึง หรือเจ็บปวดให้เกิดความคลายของกล้ามเนื้อ เเละเพิ่มเเรงการหดตัวของกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น เเละทำให้อาการเจ็บที่น่ารำคาญให้หายไป!
K-TAPE ใช้ทำอะไร?
บางคนอาจจะเข้าใจว่า K-Tape สามารถช่วยเเก้ปัญหาได้ทั้งหมด เเต่จริงๆเเล้วK-Tape หรือเทปพยุงกล้ามเนื้อไม่สามารถเเก้ปัญหาได้หมด เเต่เเค่ช่วยให้ระบบของกล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆของกล้ามเนื้อให้ทุเลาลงเเละช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังได้รับการบาดเจ็บ
- Aiding Injuries (การรักษาผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บ)
นักกายภาพมักจะใช้ K-Tape เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาหลังจากได้รับการบาดเจ็บ หรือคนที่พึ่งได้รับอุบัติเหตุ เช่นข้อเท้าพลิก หรือถูกกระเเทกอย่างรุนเเรง สามารถยับยั้งอาการบวมได้
- Extra Assistance (การรักษาเเบบพิเศษ):
การจัดตำเเหน่งของกระดูกให้อยู่ในตำเเหน่งที่เหมาะสม เช่น การฟื้นฟูของกล้ามเนื้อ เเละกระดูก (Musculoskeletal: MSK) ที่อาจเกิดจากความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ ถ้าหากอยากจะหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บ หรือในนักฟุตบอลที่มีลูกสะบ้าเคลื่อน จนทำให้เจ็บเข่า สามารถใช้ K-Tape ขณะออกกำลังกายได้ จะช่วยให้คุณสามารถออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
- Reduced Friction (ลดเเรงเสียดทาน):
K-Tape ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อที่ตึงเกินไป สามารถติด K-Tape ได้รอบข้อต่อ หากคุณเคยมีอาการปวดบริเวณด้านข้างของหัวเข่า เช่น IT Band, เอ็นร้อยหวายอักเสบ, การบาดเจ็บลูกสะบ้าใต้เข่า สามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด เเละสามารถป้องกันการบาดเจ็บ
ภาวะที่ไม่ควรใช้ Kinesiology Tape?
มีหลายครั้งที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้เทปเช่น:
- Opens Wounds (แผลเปิด) – ความเสียหายของผิวหนัง เเละความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- Infection (การติดเชื้อ) – ถ้ามีการติดเชื้อจะทำให้การเคลื่อนไหวของของเหลวในร่างกายมีมากขึ้น ซึ่งถ้าติด Kinesio-Tape (เทปพยุงกล้ามเนื้อ) ก็จะสามารถช่วยกระตุ้นให้การเเพร่ระบาดของการติดเชื้อไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้ง่ายขึ้น จึงไม่เหมาะสม และเป็นอันตราย ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้เทปเมื่อเกิดอาการติดเชื้อ
- Deep Vein Thrombosis (หลอดเลือดดำส่วนปลายอุดตัน) – เป็นนภาวะที่เลือดอุดตันในส่วนของหลอดเลือดดำส่วนปลายอุดตัน มักจะอยู่ในหลอดเลือดดำที่บริเวณขา ถ้าใช้ Kinesiology Tape ในภาวะที่มีการอุดตันของหลอดเลือดดำ อาจะทำให้ลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดไหลไปยังในอวัยวะที่สำคัญต่างๆในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด หรือสมอง ซึ่งเป็นอันตรายได้
K-TAPE ใช้งานได้จริงหรือไม่?
เทปนี้เเตกต่างจากเทปทั่วไป ตรงที่เนื้อเทปยืดหยุ่นเป็นพิเศษ เนื้อกาวจะเเนบติดกับผิวหนังได้เป็นเวลานาน เมื่อติดบนร่างกาย เเละประโยชน์ที่โดดเด่นของ Kinesio-Tape ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ
- ช่วยยึด หรือยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น โดยปรับความตึง เเละทิศทางการติด
- หากติดความตึงน้อยๆ เทปจะให้ความยืดหยุ่นสูง ระบบไหลเวียนน้ำเหลืองจะทำงานคล่องขึ้น เเละลดอาการบวมได้เป็นอย่างดี
- ช่วยกระตุ้นสัญญาณสัมผัสของระบบประสาท ทำให้บริเวณที่ติดเทปเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม จึงใช้ได้ทั้งผู้บาดเจ็บ หรือผู้ที่ไม่บาดเจ็บ เเต่มีท่าทางหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
- สำหรับเทปที่มีหลากหลายสีนั้น เป็นเพียงการออกเเบบเพื่อให้เห็นเเนวการติดที่ชัดเจน เเละดูน่าสนใจ ทั้งนี้ไม่ว่าเทปจะสีใดก็มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน
- ปัจจุบันนี้ Kinesio-Tape เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่นักกีฬา เเละคนออกกำลังกาย
ลักษณะเเบบในการแปะ Kinesiology Tape
วันนี้ทาง SPORTTAPE จะมาขอเเจกทริค รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เเละลักษณะในการติด Kinesio-Tape ที่มีอยู่ 6 แบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการพยุงส่วนนั้นๆของร่างกาย เเละลักษณะในการบาดเจ็บบริเวณที่ต้องการพยุง จะเเบ่งลักษณะการติดได้ดังนี้
- เเบบ I
เป็นเเบบที่ง่ายที่สุด ที่ใช้ในกรณีบาดเจ็บเเบบ Acute Injurie (การบาดเจ็บเเบบเฉียบพลัน) ช่วยลดอาการปวดบวม
- เเบบ Y
เป็นเเบบที่เริ่มทำวิธีเเบบ I ก่อน เเล้วค่อยเเยกตรงกลาง แปะคล้ายๆตัว Y แปะตามร่างกาย นิยมแปะกล้ามเนื้อให้มีผลต่อการใช้งานมากที่สุด ส่วนมากจะใช้พยุงร่างกายในกรณีที่กล้ามเนื้ออ่อนล้าระหว่างซ้อม (Weakened Muscles) ซึ่งจะใช้หลักการติดจากจุดเกาะต้น (Origin) ไปยังจุดเกาะปลาย (Insertion)
- เเบบ X
ใช้เเปะเพื่อเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อบริเวณที่อยู่เเนวสองข้อต่อของร่างกาย มักจะเป็นส่วนที่ต้องขยับตลอดเวลา เช่น กล้ามเนื้อ Rhomboid Major เเละ Rhomboid Minor
- เเบบใบพัด (Fan)
ตัดเทปเป็นซี่ๆ สามารถตัดได้ 4 ซี่ หรือ5 ซี่ก็ได้ ใช้เเปะตามร่างกายเพื่อยกผิวให้มีการไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น (Blood Flow)
- เเบบตาข่าย (Web)
ตัดลักษณะเเบบ Fan เเต่นำมาประกบกันเหมือนตาข่ายทับซ้อนกัน ใช้แปะเพื่อการไหลเวียนช่วต่อมน้ำเหลือง ป้องกันการฟกช้ำเป็นหลัก
- เเบบ Donut
มีวงอยู่ตรงกลางคล้ายโดนัท ใช้กรณีเดียวกับ เเบบ Fan เเต่ให้ช่วงรูอยู่บริเวณยอด
หากต้องการติด Kinesiology Tape โปรดจำขึ้นตอนนี้
- ทำความสะอาดพื้นผิว เเละทำให้ผิวเเห้งก่อน เพราะโลชั่น เเละ Body oil สามารถทำให้เทปติดไม่ยาวนานได้
- ตัดมุมตรงปลายเทปให้โค้งมน เพราะจะทำให้เทปติดได้อย่างยาวนานขึ้น ไม่เกี่ยวโดนเสื้อผ้า
- ควรจับเทปบนกระดาษรอง เพื่อลดการสัมผัสในส่วนของกาวที่จะทำให้เกิดความเหนียวของกาวน้อยลง
- หลังจากติดเทปเเล้ว ให้ถูเเถบเเรงๆ เป็นเวลาหลายวินาที เพื่อทำให้เทปเกิดความร้อน เเละทำให้การทำงานของกาวใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เเละเต็มที่
การเพิ่มเเรงดึงของ Kinesiology Tape
การเพิ่มเปอร์เซนต์ของเเรงดึงนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการดึงส่วนนั้นเป็นหลัก จะสามารถแบ่งเปอร์เซนต์การใช้เเรงดึง ดังนี้
- No Tension (None) ใช้เเรงดึง 0% จะไม่เพิ่มเเรงดึงเลย ใช้เพื่อประคองการบาดเจ็บในส่วนนั้น ไม่ให้อักเสบเพิ่มขึ้นเพียงเท่านั้น
- Light ( เบาๆ ) ใช้เเรงดึง 15 – 25% ของเเรงดึงท้งหมด เพื่อลดการบวมเเบบ Swelling (บวมเเบบอักเสบ) เเบบ Edema (บวมเเบบไม่มีอักเสบ) หรือการฟกช้ำ ช้ำเลือดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
- Moderate (ปานกลาง) ใช้เเรงดึง 25 – 50% ของเเรงดึงทั้งหมด เพื่อพยุงกล้ามเนื้อเอ็นเเบบ Tendor (เอ็นที่ติดระหว่างกล้ามเนื้อกับกล้ามเนื้อ)
- Servere (เกือบตึง) ใช้เเรงดึง 50 – 75% ของเเรงดึงทั้งหมด ใช้พยุงข้อต่อช่วง Corrective Tissue (เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน) เอ็นเเบบ Ligament (เอ็นที่ติดระหว่างกระดูกกด้วยกัน เเละเอ็นที่ติดระหว่างกล้ามเนื้อกระดูก)
- Full (ตึงเต็มที่) ใช้เเรงดึง 75 – 100% ของเเรงดึงทั้งหมด ใช้พยุงข้อต่อเเละกระดูกเพื่อลดการกระทบกระเทือน การเคลื่อนตัว เเละลดเเรงกระเเทกที่มีต่อกระดูก
มาถึงตอนนี้ คุณก็พอจะเข้าใจคุณสมบัติ เเละวิธีการใช้ของ Kinesiology Tape หรือเทปพยุงกล้ามเนื้อเพิ่มมากยิ่งขึ้น มีบางข้อมูลจากผู้ที่เคยใช้งานจริงได้ให้ข้อมูลกับทาง SPORTTAPE ว่า K-Tape หรือ เทปพยุงกล้ามเนื้อ สามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บบของทางกล้ามเนื้อได้ เเละบางการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าอาจให้ผลทางจิตใจที่ทำให้นักกีฬารู้สึกมั่นใจขึ้นเมื่อมีการใช้เทปนี้
ถ้าอยากรู้ว่าจริง หรือไม่จริง ขอเเนะนำให้ลองใช้ SPORTTAPE เทปพยุงกล้ามเนื้อ เเล้วคุณจะพบว่าความจริงเป็นเช่นไร อย่าลืมปฏิบัติตามทริคที่แอดมินเเนะนำไปนะครับ หรือสามารถเพิ่มเติม วิธีการติด Kinesiology Tape ได้ที่นี่ เเละสามารถมาเล่า หรือเเชร์เรื่องราวให้เราฟังได้ที่เพจเฟซบุ๊ก SPORTTAPE THAILAND เเล้วมาพบกันใหม่ในบทความหน้านะครับ