เซิร์ฟ สเก็ต (Surf Skate) อีกหนึ่งกิจกรรมที่กำลังฮิตในหมู่เด็กวัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว เพราะสามารถเล่นได้เป็นกิจกรรมยามว่าง หรือเเม้กระทั้งจะเอาดีเป็นนักกีฬาก็ได้เช่นกัน
เเต่จะเล่นอย่างไรให้ไม่มีการบาดเจ็บ เเละลดการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นจากการเล่น เซิร์ฟ สเก็ต ให้น้อยที่สุด เรามีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญมาเเนะนำ
ทำความรู้จัก เซิร์ฟ สเก็ต
เซิร์ฟสเก็ต (Surf Skate) เป็นกีฬาบนแผ่นกระดาน ที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างสเก็ตบอร์ดกับกีฬาเซิร์ฟ(กระดานโต้คลื่น) โดยการเคลื่อนที่จะใช้การบิดตัว ใช้แขนและสะโพกเหวี่ยงเดินหน้าและเปลี่ยนทิศทาง ล้อด้านหน้าของบอร์ด สามารถหมุนเลี้ยวได้ เเตกต่างจาก สเก็ตบอร์ด( Skateboard ) ที่จะใช้ขาไถเพื่อเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว และถูกออกแบบมาเพื่อเล่นท่าทางในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การกระโดด การตีลังกา ฯลฯ
การบาดเจ็บจาก Surf Skate
ข้อมูลจากนายแพทย์ ภคภณ อิสรไกรศีล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ สาขา Sport Medicine ระบุว่า กีฬาเซิร์ฟสเก็ตสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ 2 แบบ คือ เกิดจากการเล่น และเกิดจากอุบัติเหตุ
- การบาดเจ็บจากการเล่น Surf Skate เนื่องจากต้องใช้การทรงตัว การบิดตัว และเหวี่ยงสะโพกในการเล่นอยู่ตลอดเวลา ในผู้เล่นหน้าใหม่จึงทำให้เกิดการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ ได้ ทั้งอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้น ปวดเมื่อยต้นขา รวมทั้งข้อเข่าและข้อเท้า
- การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ Surf Skate ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น มักเกิดจากการล้ม การกระแทก เช่นเดียวกับกีฬาสเก็ตบอร์ด สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ตั้งแต่อาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ แผลถลอก แผลแตก หรือรุนแรงถึงขั้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก หรือสมองกระทบกระเทือนได้เช่นกัน โดยสามารถพบการบาดเจ็บได้ทั่วทั้งร่างกาย
อาการบาดเจ็บรุนแรงจากการเล่น Surf Skate
สำหรับอาการบาดเจ็บรุนแรงที่พบได้บ่อย คือ อุบัติเหตุจากการเสียการทรงตัว ล้ม หรือกระแทก และหากเล่นบนถนนที่มีการจราจรอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ตัวอย่างอาการบาดเจ็บรุนแรง เช่น
- บาดเจ็บศีรษะ เช่น ศีรษะแตก กะโหลกร้าว สมองกระทบกระเทือน หรือมีเลือดออกในสมอง
- กระดูกหัก เช่น ข้อมือหัก ข้อศอกหัก กระดูกหัวไหล่หัก ไหปลาร้าหัก ข้อสะโพกหัก ลูกสะบ้าแตก ข้อเท้าหัก
- ข้อเคลื่อนหลุด เช่น ข้อไหล่หลุด ข้อศอกหลุด ลูกสะบ้าเคลื่อนหลุดบริเวณเข่า
- เอ็นฉีกขาด เช่น เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด เอ็นข้อศอกฉีกขาด เอ็นเข่า หรือเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด
อาการบาดเจ็บแบบไหนต้องพบแพทย์
- ศีรษะกระแทก มีอาการมึนงง จำเหตุการณ์ไม่ได้ คลื่นไส้ อาเจียน หรือสลบไปชั่วขณะ อาจเป็นสัญญาณของภาวะกระทบกระเทือนทางสมอง หรืออาจมีเลือดออกในสมองได้
- ปวด บวม ผิดรูปของกระดูกและข้อ อาจมีภาวะข้อเคลื่อนหลุด หรือกระดูกหักได้
- อาการปวดต่อเนื่องระหว่างการเล่น หลังการเล่น หรือพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจะไม่ใช่อาการเมื่อยล้าหรือฟกช้ำ แต่อาจจะเป็นอาการที่รุนแรงกว่าที่คาดคิดได้
- ข้อไม่มั่นคง หลวม หรือการเปลี่ยนทิศทางเดินแล้วเข่าทรุด อาจเป็นอาการของภาวะเอ็นฉีกขาด เช่น เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาดได้ จากการล้ม หรืออุบัติเหตุเข่าบิด
วิธีป้องกัน เเละเตรียมพร้อมก่อนเล่นเซิร์ฟ สเก็ต ( Surf Skate )
- เลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ อยู่ในสภาพที่ดี ใช้งานได้ตามปกติ
- สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกกันน็อก สนับข้อมือ สนับศอก สนับเข่า ช่วยลดความรุนแรงการบาดเจ็บได้
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่แนะนำให้เล่น ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ควรมีผู้ดูแลควบคุมที่มีประสบการณ์
- ผู้สูงอายุต้องระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากอาจมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนร่วมด้วย หากเกิดอุบัติเหตุล้ม จะมีความรุนแรง เกิดกระดูกหักได้ โดยเฉพาะข้อมือ ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง
- เลือกสถานที่ให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อการเล่น เช่น Skate Park เลี่ยงการเล่นบริเวณใกล้ถนนและบริเวณที่มีกรวด ทราย น้ำขัง
- เตรียมร่างกายก่อนเล่นด้วยการวอร์มอัพ ยืดเหยียด วิ่งจ็อกกิง หรือกระโดดตบ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความพร้อมของข้อต่อและกล้ามเนื้อ
สั่งซื้อสินค้าคลิก เทปพยุงกล้ามเนื้อ Sporttape เพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ เเละข้อต่อ
- บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ใช้งานหลัก ๆ ในการเล่น Surf Skate เช่น กล้ามเนื้อแกนกลาง กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อต้นขา และน่อง เช่น การบริหารท่า Plank หรือ Squat
- ศึกษาและฝึกซ้อมเทคนิคการเล่นระดับพื้นฐานก่อน เรียนรู้การทรงตัว การเคลื่อนที่ และฝึกการล้มอย่างถูกวิธี ประเมินตนเอง ไม่เสี่ยงจนเกินพอดี
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากหากเล่น Surf Skate เป็นเวลานานกลางแดดร้อน อาจเกิดภาวะขาดน้ำและเกิดอันตรายจากความร้อนได้
ถึงเเม้ว่าการเล่นเซิร์ฟสเก็ต อาจจะทำให้เจ็บตัว เกิดการบาดเจ็บ เเละอุบัติเหตุได้ เเต่การรู้จักเตรียมความพร้อมร่างกาย อุปกรณ์ก่อนการเล่นก็จะสามารถป้องกันอาการบาดเจ็บได้ โดยเฉพาะหากมีตัวช่วย
การแปะ เทปพยุงกล้ามเนื้อ Sporttape บริเวณมัดกล้ามเนื้อ ที่มักทำให้เกิดการบาดเจ็บง่าย เช่น กล้ามเนื้อต้นขา น่อง รวมไปถึงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว จะสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บ เพิ่มความยึดหยุ่นของกล้ามเนื้อลงได้
อ้างอิง โรงพยาบาลกรุงเทพ