SPORTTAPE THAILAND

รู้หรือไม่? อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส (TENNIS ELBOW) ไม่ได้เป็นเเค่เฉพาะกับนักกีฬาเทนนิสเท่านั้น!

ข้อศอกอักเสบ, Tenniselbow, อาการเจ็บข้อศอก

” รู้หรือไม่ว่า อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส หรือ Tennis Elbow  ไม่ได้เกิดขึ้นเเค่เฉพาะกับนักกีฬาเทนนิสเท่านั้น เเต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคนทุกช่วงวัย ที่มีการทำงานบริเวณช่วงข้อมือ เเละช่วงเเขนมากจนเกินไป หรือมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ที่มีความคล้ายกับกลุ่มนักกีฬาเทนนิส เช่น พนักงานออฟฟิศ ที่ต้องพิมพ์งานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือจะเป็นเเม่บ้านที่ต้องทำงานบ้านเป็นประจำ รวมถึงช่างซ่อมที่ต้องใช้เครื่องมือประเภท คีม ไขควง ที่ต้องมีการสะบัด หรือตวัดข้อมือขึ้นเเรงๆ จนอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอก ก็ล้วนมีสิทธิเสี่ยงที่จะเป็น “Tennis Elbow ได้ “

วันนี้แอดมินเลยอยากจะพาผู้อ่านทุกท่าน มาทำความรู้จักกับโรคที่เรียกว่า "TENNIS ELBOW" หรือ "อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส" รวมไปถึงวิธีการรักษา เเละการป้องกันเบื้องต้น ที่จะไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บข้อศอก หรือเเขน ด้วยวิธีการกายภาพบำบัด หรือจะเป็นการติดเทปพยุงกล้ามเนื้ออย่างง่าย อ่านมาถึงตรงนี้เเล้ว อยากจะรู้กันเเล้วใช่ไหมล่ะครับ งั้นมาทำความรู้จัก เเละเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเลย! 

Tennis Elbow คืออะไร

Tennis Elbow /Lateral Epicondylitis เป็นคำทั่วไปที่ใช้อธิบายอาการปวดเรื้อรังที่บริเวณด้านนอกของข้อศอก หรือจะพูดง่ายๆเลยก็คือ อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส หรือ การอักเสบของกล้ามเนื้อด้านหลังบริเวณเเขนท่อนล่าง (Extensor Group of The Forearm Muscle) 

โดยกล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะมีจุดเกาะต้นอยู่ที่บริเวณปุ่มกระดูกทางด้านนอกของข้อศอก (Lateral Epicondyle) เเละส่วนที่มักจะพบปัญหามากที่สุดก็คือ เส้นเอ็นข้อศอกด้านข้าง ที่มีชื่อว่า ECRB (Extensor Carpi Radialis Brevis) ซึ่งเส้นเอ็นข้อศอกด้านข้างในส่วนนี้ ไม่สามารถซ่อมเเซมตัวเองได้ จึงส่งผลให้เกิดเนื้อเยื่อเฉพาะเเบบหนึ่งในเส้นเอ็น หรือเกิดความเสื่อมขึ้น 

จึงส่งผลให้เกิดปัญหาขณะมีการใช้งานของเเขน รวมถึงข้อศอกที่ส่งเเรงผ่านเส้นเอ็น จนเกิดอาการเจ็บเมื่อเราใช้งานในส่วนข้อมือ เเขน ข้อศอกได้

ส่วนสาเหตุที่เรียกว่า “Tennis Elbow” ก็เพราะว่าอาการเหล่านี้มักจะมีอาการคล้ายกับนักกีฬาเทนนิสมากที่สุดนั่นเอง

สาเหตุของ Tennis Elbow

  1. ภาวะเอ็นข้อศอกด้านนอกเสื่อม หรือ ผิวข้อกระดูกอ่อนเสียหาย รวมถึงหินปูนเเคลเซียมเกาะเส้นเอ็น
  2. ใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้นบ่อย ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมากจนเกินไป (Overuse) เช่น วาดภาพ ตัดกระดาษ ขันน็อต ทำสวน ซ้อมกีฬา เป็นต้น
  3. ประกอบอาชีพที่ต้องใช้แขน และข้อมือในลักษณะเดิมซ้ำ ๆ เช่น พนักงานออฟฟิศที่ใช้ข้อมือพิมพ์คีย์บอร์ด ช่างประปา นักวาดรูป ช่างไม้ คนทำอาหาร ช่างก่อสร้าง เป็นต้น
  4. การบาดเจ็บอย่างฉับพลัน ทำให้เส้นเอ็นแขนบริเวณที่ยึดเกาะกับปุ่มกระดูกด้านข้างข้อศอกเกิดการบาดเจ็บและอักเสบ
Tennis Elbow, Lateral Epicondylitis, อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส, ข้อศอกอักเสบ, Lateral Epicondylitis, ปวดข้อศอก
อ้างอิงรูปภาพ: Lateral Epicondylitis (Tennis Elbow) created from www.freepik.com

อาการของ Tennis Elbow

อาการของ “Tennis Elbow” ที่มักจะพบบ่อยที่สุดได้เเก่

  • มีอาการปวดเมื่อย หรือเเสบร้อนบริเวณด้านนอกของข้อศอก (Leteral Epicondyle) 
  • กดเจ็บบริเวณปุ่มกระดูกด้านข้างของข้อศอก 
  • อาการเจ็บเวลาเหยียดนิ้ว หรือเกร็งข้อมือ รวมถึงเจ็บปวดเมื่อขยับ หรือจับ
  • อาการปวดจะเริ่มที่บริเวณข้อศอก เเต่ก็อาจจะลามไปถึงปลายเเขนด้วย (Forearm)
  • บางรายที่มีการอักเสบเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อนเเรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอก เเละมีเเรงจับที่อ่อนเเรงร่วมด้วย 

อาการปวดที่เกี่ยวข้องกับ “Tennis Elbow” หรือ ” อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส “ มักจะค่อยๆ เริ่มมีอาการ เเต่อาจจะเกิดขึ้นอย่างกระทันหันได้เช่นกัน เเละจะค่อยๆ ปวดเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นความเจ็บปวดจะมีอาการได้ตั้งเเต่เจ็บปวดเล็กน้อย ไปจนถึงอาการเจ็บปวดรุนเเรง จนทำให้ร่างกายทรุดโทรมได้

วิธีการรักษา และป้องกัน Tennis Elbow

  • พักการใช้งานสำหรับเเขนข้างที่มีอาการ หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้รู้สึกปวดบริเวณเเขน หรือข้อศอกมากขึ้น หากยังมีอาการบวมเเดง เเละร้อนบริเวณที่ข้อศอก ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อก่อน 5 – 10 นาที เเล้วค่อยประคบเย็นบริเวณนั้นทันที
  • หากไม่สามารถเลี่ยงได้ก็ควรเลือกวิธีที่สร้างแรงกดให้กับกล้ามเนื้อน้อยที่สุด เช่น ติดเทปพยุงกล้ามเนื้อ หรือ เทปบำบัด เพื่อช่วยซัพพอร์ต เเละยกกล้ามเนื้อขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การเคลื่อนไหว เเละการป้องกันการบาดเจ็บ ซึ่งการทำงานของเทปพยุงกล้ามเนื้อสามารถปรับความตึง เเละทิศทางการติดได้ อีกทั้งยังคอยกระตุ้นสัญญานของระบบประสาทสัมผัส เพื่อสร้างช่องว่างในการไหลเวียนของน้ำเหลือง เเละเลือดให้ดีขึ้น รวมถึงลดอาการเจ็บปวด เเละลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย 

” แอดมินขอเเนะนำ นี้เลย!! เทปพยุงกล้ามเนื้อ 𝙎𝙋𝙊𝙍𝙏𝙏𝘼𝙋𝙀 𝙆𝙞𝙣𝙚𝙨𝙞𝙤-𝙏𝙖𝙥𝙚 หรือ เทปบำบัด เเบรนด์ที่ได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษ เเละได้รับความไว้วางใจจากนักกีฬาระดับโลก ด้วยคุณภาพที่ติดทนนานสูงสุด 3 – 5 วัน, ไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง (Hypo-Allergenic) เพราะใช้กาวชนิด Acrylic (Medical Grade), ไม่มีส่วนผสมของกาว Latex, ผลิตจากผ้าฝ้าย (Cotton) 96% ทำให้มีรูสำหรับระบายอากาศรวมถึงมีความยืดหยุ่นสูง 150 – 180% 

ช้อปเลย SPORTTAPE เทปพยุงกล้ามเนื้อ
  • การทำกายภาพบำบัด (Physical Therapy) เช่น การขยับข้อต่อ (Mobilization), การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) หรือ การออกแบบการออกกำลังกาย และยืดกล้ามเนื้อเฉพาะบุคคล (Individual Exercise) เพื่อกระตุ้นการทำงาน และเสริมสร้างกล้ามเนื้อแขนส่วนล่างให้กลับมาแข็งแรง นักกายภาพบำบัดจะนวดบริเวณที่มีอาการปวดด้วยน้ำแข็ง หรือเสริมการรักษาด้วยวิธีอื่นเป็นระยะ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหายไวมากขึ้น เเละการรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ เป็นต้น
  • ยาต้านการอักเสบขนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflamatory Drug:NSAIDs) เพื่อช่วยลดอาการอักเสบ เเละอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
  • Prolotherapy Injection คือ การฉีดกลูโคส เข้าไปบริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมเเซมเร่งกระบวนการฟื้นฟู เเละรักษาตามธรรมชาติ
  • หากรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เเล้วอาการไม่ดีขึ้นเลยภายใน 3-6 เดือน เเพทย์จะพิจารณา เเละเเนะนำให้ทำการผ่าตัด เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เเละจะทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างถาวรได้

” หากไม่อยากมีอาการเจ็บข้อศอก (Tennis Elbow) ที่ทำให้รู้สึก เจ็บ เสียว แปล๊บ จนรู้สึกกวนใจ วิธีป้องกันง่ายๆ ลองติดเทปพยุงกล้ามเนื้อ (Kinesiology Tape) ช่วยป้องกันดูนะครับ ถ้าไม่เชื่อก็ต้องลอง มาพิสูจน์ด้วยตัวคุณเองที่ SPORTTAPE THAILAND! “

อ้างอิงรูปภาพ:
The Extensor Carpi Radialis Brevis Muscle created by Wikimedia Commons (created this from Gray’s Anatomy plate 418 using)

อ้างอิงข้อมูล:
Bangkok Hospital
Samitivej Hospitals
Rehabcare Clinic
Mayo Clinic

Related Articles

Office Syndrome, ออฟฟิศซินโดรม

บอกลา “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” กลุ่มอาการยอดฮิตคนทำงาน กับ 7 ไอเทมที่ต้องมีติดบ้าน

“ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” กลุ่มอาการยอดฮิตของคนวัยทำงาน พนักงานออฟฟิศ ที่จำเป็นต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

Read More »
วิ่งเทรล, Running Trail,เคล็ดลับวิ่งเทรล, Sporttape

เคล็ดลับ วิ่งเทรล (Trail Running) นักวิ่งมือใหม่ มืออาชีพ ต้องรู้ ก่อนพิชิตเส้นชัย

วิ่งเทรล กีฬายอดฮิตที่มือใหม่ มืออาชีพ ต่างตบเท้ากันลงสนาม ไม่เว้นเเม้เเต่คนดังอย่างอดีตนักการเมือง คุณธนาธร

Read More »